การจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ Knowledge Management : KM
 

เบอร์ติดต่อ

053-885985-7

โทรสาร

053-885987

แนวปฏิบัติที่ในการบริหารงานวิจัยและการบริการวิชาการ


สถาบันวิจัยและพัฒนา
ประเด็นความรู้ เรื่อง แนวทางในการบริหารงานวิจัยและการบริการวิชาการที่มีประสิทธิภาพ

--------------------------

องค์ความรู้ที่ได้ : แนวปฏิบัติที่ในการบริหารงานวิจัยและการบริการวิชาการ

หลักการและเหตุผลที่เลือกองความรู้ :
    เพื่อให้การบริหารงานวิจัยและการบริการวิชาการของสถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นไปอย่างเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ 

ตัวชี้วัด (KPI)
    บุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการบริหารงานวิจัยและการบริการวิชาการ เพิ่มขึ้น อย่างน้อยมากกว่า ค่าเฉลี่ย 3.51

เป้าหมาย
    1.  บุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนามีความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ในการบริหารงานวิจัยและการบริการวิชาการ เพิ่มมากขึ้น
    2.  ประสิทธิภาพในการบริหารงานวิจัยและการบริการวิชาการของสถาบันวิจัยและพัฒนาเพิ่มมากขึ้น

สรุปผลการดำเนินงานตามขั้นตอนการจัดการความรู้ (KM)
1.  การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็น (Knowledge Identification)
    องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับแนวทางในการบริหารงานวิจัยและการบริการวิชาการ
วิธีการสู่ความสำเร็จ
    -  ประชุมคณะกรรมการจัดการความรู้ของสถาบันวิจัยและพัฒนา เพื่อกำหนดองค์ความรู้ในการบริหารงานวิจัยและการบริการวิชาการ
 
2.  การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition)
วิธีการสู่ความสำเร็จ
    -  จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “ประชุมเชิงปฏิบัติการทบทวนแผนยุทธศาสตร์สถาบันวิจัยและพัฒนา และจัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM)” เพื่อให้การดำเนินการด้านการวิจัยและบริการวิชาการบรรลุตามแผนที่วางไว้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทีมผู้บริหารและบุคลากรของสถาบันวิจัยและพัฒนากับทีมผู้บริหารและบุคลากรจากมหาวิทยาลัยสุราษฎร์ธานี โดยบูรณาการงานวิจัยกับบริการวิชาการในหัวข้อ “ด้านการพัฒนาชุมชนมิติการท่องเที่ยว” ระหว่างวันที่ 24 – 28 มีนาคม 2562 ณ มหาวิทยาลัยสุราษฎร์ธานี

3.  การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization)
    จัดกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็นระบบ
วิธีการสู่ความสำเร็จ
    -  ทำการบันทึกความรู้ขณะทำกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรายงานให้ผู้อำนวยการรับทราบ

4.  การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement)
วิธีการสู่ความสำเร็จ
    -  นำความรู้ที่ได้มาแยกเป็นหมวดหมู่และกลั่นกรองมาจัดทำแนวปฏิบัติในการบริหารงานวิจัยและบริการวิชาการ

5.  การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access)
วิธีการสู่ความสำเร็จ
    -  การทดสอบความรู้ โดยการให้ผู้บริหารและบุคลากรนำแนวปฏิบัติในการบริหารงานวิจัยและบริการวิชาการ

6.  การแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (knowledge Sharing)
วิธีการสู่ความสำเร็จ
    -  ด้านงานวิจัยได้นำแนวปฏิบัติมาประชุมชี้แจงนักวิจัยที่ได้รับทุนเพื่อแนะนำการดำเนินงานวิจัยให้แก่คณาจารย์ที่ได้รับทุน ด้านงานบริการวิชาการนำแนวปฏิบัติมาใช้โดยการบูรณาการศาสตร์จากหลายคณะ ลงในพื้นที่ชุมชนป่าเป๋ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลป่าแป๋

7.  การเรียนรู้
วิธีการสู่ความสำเร็จ
    -  ติดตามผลการใช้ประโยชน์
    -  ประเมินผลภายหลังการนำองค์ความรู้ไปใช้


ลิงค์หน่วยงานภายนอก

การจัดการความรู้
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Knowledge Management : KM



สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทร. 0-5388-5924, โทรสาร. 0-5388-5924 admin@cmru.ac.th

สำนักหอสมุด

เลขที่ 202 ถ.โชตนา ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทรศัพท์ 0-5388-5911 โทรสาร 0-5388-5900 lib@cmru.ac.th

สำนักงานมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา

ชั้น 6 อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 202 ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 Tel : 0-5388-5985-7 Fax : 0-5388-5987

@สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ติดต่อผู้ดูแลระบบ : admin@cmru.ac.th