การจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ Knowledge Management : KM
 

เบอร์ติดต่อ

053-885985-7

โทรสาร

053-885987

เทคนิคการทำวิจัยชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
“เทคนิคการทำวิจัยชุมชน”

องค์ความรู้ที่ได้  :   การเก็บข้อมูลงานวิจัยและการนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชน

เหตุผลที่เลือกองค์ความรู้  :  
    คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นคณะที่มีหลากหลายสาขาวิชา จึงมีการทำวิจัยที่บูรณาการหลายศาสตร์เข้าด้วยกัน จากการพิจารณาสถิติงานวิจัยของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในปีการศึกษา 2561-2562 ของคณะกรรมการการจัดการความรู้เห็นว่างานวิจัยส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับชุมชน จึงเห็นควรให้มีการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคนิคการทำวิจัยชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเก็บข้อมูลงานวิจัยและการนำงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ไปใช้ประโยชน์ในชุมชน ระหว่างผู้วิจัยให้แก่กันและกัน ตลอดจนการหาแนวปฏิบัติที่ดีในการการเก็บข้อมูลงานวิจัยและการนำงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ไปใช้ประโยชน์ในชุมชน เพื่อพัฒนางานวิจัยและชุมชนท้องถิ่นให้สมปรัชญาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
 
ตัวชี้วัด (KPI) :  
    1)  ได้แนวปฏิบัติที่ดีในการเก็บข้อมูลงานวิจัยและการนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชน
    2)  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคการเก็บข้อมูลงานวิจัยและการนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชน

เป้าหมาย :    
    1. นักวิจัยมีการแบ่งปันความรู้เรื่องเทคนิคการเก็บข้อมูลงานวิจัยและการนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชน
    2. นักวิจัยสามารถนำแนวปฏิบัติที่ดีในการเก็บข้อมูลงานวิจัยและการนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชนไปใช้ได้อย่างแท้จริง

สรุปผลการดำเนินงานตามกระบวนการจัดการความรู้  (KM)
1.  การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็น (การบ่งชี้ความรู้)
     คณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประชุมพิจารณาสถิติงานวิจัยของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในปีการศึกษา 2561-2562 เห็นว่างานวิจัยส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับชุมชน โดยมีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากชุมชนเป็นจำนวนมาก จึงควรมีแนวปฏิบัติที่ดีในการเก็บข้อมูลงานวิจัยจากชุมชน
    วิธีการสู่ความสำเร็จ 
    ประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้ของคณะเพื่อกำหนดประเด็นความรู้เกี่ยวกับการทำวิจัยชุมชน ในที่ประชุมได้กำหนด 2 หัวข้อสำคัญที่เป็นหัวใจของการทำวิจัยชุมชน ได้แก่ 1) เทคนิคการเก็บข้อมูลงานวิจัยชุมชน 2) การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในชุมชน 

2.  การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ (การสร้างและแสวงหาความรู้)
    จัดประชุมอาจารย์/นักวิจัย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการเก็บข้อมูลงานวิจัยและการนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชน 
    วิธีการสู่ความสำเร็จ
         จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการเก็บข้อมูลงานวิจัยและการนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชน โดยแยกออกเป็น
         1.  สรุปประเด็นกระบวนการและปัญหาที่เกิดจากการเก็บข้อมูลงานวิจัยชุมชน
         2.  สรุปประเด็นวิธีการและผลที่ได้จากการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในชุมชน

3.  การสร้างความรู้/แนวปฏิบัติ  (การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลและกลั่นกรองความรู้)
    สังเคราะห์และจัดทำแนวปฏิบัติอย่างน้อยใน 2 ประเด็น
    1) เทคนิคการเก็บข้อมูลงานวิจัยชุมชน
    2) การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในชุมชน
         และเสนอผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องพิจารณากลั่นกรอง
    วิธีการสู่ความสำเร็จ
      คณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประชุมสรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำมาจัดทำแนวปฏิบัติเทคนิคการทำวิจัยชุมชน และนำให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในการทำวิจัยชุมชนพิจารณากลั่นกรอง

4.  การประยุกต์ใช้ความรู้/แนวปฏิบัติในงาน (การเข้าถึงความรู้)
    - จัดประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับกลุ่มเป้าหมายและให้นำแนวปฏิบัติเทคนิคการทำวิจัยชุมชนไปประยุกต์ใช้ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง
    วิธีการสู่ความสำเร็จ
    จัดประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับอาจารย์ในการนำแนวปฏิบัติไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงพร อ่อนหวาน หัวหน้าศูนย์จัดการข้อมูลเพื่อการวิจัยและพัฒนาศักยภาพชุมชน (ศจพช.) คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ที่พิจารณากลั่นกรองแนวปฏิบัติใน 2 ประเด็น และแจกแนวปฏิบัติเทคนิคการทำวิจัยชุมชน 2 ประเด็นนั้นให้กับผู้วิจัย

5.  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำความรู้/แนวปฏิบัติไปใช้ (การแบ่งปันแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ การเรียนรู้) 
    จัดกิจกรรมการจัดการความรู้ (KM) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กิจกรรม “เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้” ประจำปี 2562  
      วิธีการสู่ความสำเร็จ
       •  การนำเสนอ Presentation เรื่อง “เทคนิคการทำวิจัยชุมชน” ในประเด็น  การเก็บข้อมูลงานวิจัยและการนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชน
       •  แนวปฏิบัติเทคนิคการทำวิจัยชุมชน 2 ประเด็น

6.  การปรับปรุงเป็นชุดความรู้/แนวทางปฏิบัติ
    ปรับปรุงแนวปฏิบัติเทคนิคการทำวิจัยชุมชน 2 ประเด็น ตามข้อเสนอแนะที่ได้จากการจัดกิจกรรม KM วันที่ 24 เมษายน 2562 ห้องประชุมสะบันงา อาคาร 4 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เพื่อให้นักวิจัยนำสามารถนำแนวปฏิบัติที่ดีเรื่องเทคนิคการเก็บข้อมูลงานวิจัยและการนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชนไปใช้ได้
     วิธีการสู่ความสำเร็จ
    • อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นำแนวปฏิบัติที่ดีเรื่องเทคนิคการเก็บข้อมูลงานวิจัยและการนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชนไปใช้ในการเก็บข้อมูลงานวิจัย และนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในชุมชนได้ในปีงบประมาณ 2562

7.  การประเมินผลการดำเนินงานและรายงานต่อมหาวิทยาลัย 
    ประเมินผลตามตัว KPI ที่กำหนด ได้ผลดังนี้
    ประเด็นตัวชี้วัด (KPI) :    
        1)  ได้แนวปฏิบัติที่ดีในการเก็บข้อมูลงานวิจัยและการนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชน
             ผลการดำเนินงาน
             - คู่มือแนวปฏิบัติที่ดีในการเก็บข้อมูลงานวิจัยและการนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชน
       2)  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคการเก็บข้อมูลงานวิจัยและการนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชน
            ผลการดำเนินงาน
           - ค่าคะแนนประเมินเฉลี่ย 4.17 อยู่ในเกิน ดี 
    วิธีการสู่ความสำเร็จ
    • จัดทำคู่มือแนวปฏิบัติที่ดีในการเก็บข้อมูลงานวิจัยและการนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชน
    • จัดทำแบบประเมิน เพื่อสำรวจความเข้าใจการเก็บข้อมูลงานวิจัยและการนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชนของผู้วิจัยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    • จัดทำรายการผลการประเมินต่อคณะ และมหาวิทยาลัย 

ดาวน์โหลดคู่มือแนวปฏิบัติที่ดีในการเก็บข้อมูลงานวิจัยและการนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชน (คลิก...)


ลิงค์หน่วยงานภายนอก

การจัดการความรู้
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Knowledge Management : KM



สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทร. 0-5388-5924, โทรสาร. 0-5388-5924 admin@cmru.ac.th

สำนักหอสมุด

เลขที่ 202 ถ.โชตนา ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทรศัพท์ 0-5388-5911 โทรสาร 0-5388-5900 lib@cmru.ac.th

สำนักงานมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา

ชั้น 6 อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 202 ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 Tel : 0-5388-5985-7 Fax : 0-5388-5987

@สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ติดต่อผู้ดูแลระบบ : admin@cmru.ac.th